วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

สุดยอดกลโกงแห่งยุคดิจิตอล (สาระความรู้จากรายการ The Real Hustle ช่อง True X-Zyte)

1. ATM ปลอม

ใครๆอาจเคยได้ยินเรื่องพวกมิจฉาชีพแอบเอาอุปกรณ์แปลกๆไปติดตั้งไว้ตามตู้ ATM เพื่อขโมยข้อมูลบัตรของเหยื่อที่มาใช้บริการ แต่ครั้งนี้มาเหนือเมฆแบบสุดๆครับ ปลอมมันทั้ง ตู้ นั่นแหล่ะ

ด้วยการทำตู้ ATM ปลอมขึ้นมาเลย ทำสีสันเหมือนตู้ ATM แท้ๆทุกประการ ข้างในมีกลไกแบบตู้ ATM จริงๆ ปุ่มกดและจอภาพด้านนอกก็เช่นกัน โดยมิจฉาชีพจะนำตู้นี้ไปตั้งไว้ในย่านที่มีคนผ่านไปมาบ่อยๆ ตอนขนไปแน่นอนก็ดูเหมือนเป็นคนของธนาคารมาทำการติดตั้ง ในนั้นจะมีคนแอบซ่อนอยู่ พร้อมด้วย laptop หนึ่งเครื่องพิมพ์ตอบโต้กับเหยื่อที่มาหลงใช้บิรการ พร้อมทั้งเครื่องอ่านรหัสบัตรของเหยื่อ และมีกล้องเล็กๆซ่อนไว้จับภาพที่แป้นกดด้วย รอบๆตู้จพมีพรรคพวกคอยดุลาดเลากับส่งน้ำและอาหารให้พรรพวกในตู้ เมื่อเหยื่อมาใช้บริการ หลังจากสอดบัตรเข้าไปแล้วกดรหัส เครื่องก็จะบอกว่าไม่สามารถทำรายการได้ เหยื่อจากไป แต่มิจฉาชีพได้ข้อมูลในบัตรไปมูลค่าหลายหมื่นปอนด์ ในเวลาแค่ 2 ชั่วโมง กับเหยื่อ 25 ราย

2. Wi-Fi ปลอม

ตามโรงแรมใหญ่ๆในต่างประเทศ (ไม่รู้ในไทยมีหรือเปล่า) จะมีบริการ Wi-Fi แบบที่ผู้ใช้ต้องจ่ายเงินโดยจ่ายผ่านบัตรเครดิต ดดยกรอกรหัสและทำกระบวนการต่างๆผ่านหน้าจอ latop ของตัวเอง และวิธีนี้ก็เปิดช่องโหว่ให้มิจฉาชีพด้วยการตั้งเครือข่าย Wi-Fi ปลอมบริเวณนนั้น ตัวมิจฉาชีพที่มาพร้อมกับ laptop ก็ดูกลมกลืนเหมือนคนอื่นใน lobby ใน laptop นั้นก็จะปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ออกมา บรรดา laptop ของแขกทที่มาใช้เครือข่ายแถวนั้น ก้จะจับสัญญาณที่แรงและใกล้ที่สุด ซึ่งก็คือจาก latop ของมิจฉาชีพ และหลงคิดว่านั่นคือเครือข่ายที่ไว้ใจได้ซึ่งบริการโดยโรงแรม เมื่อเหยื่อตัดสินใจ log-in เข้าใช้โดยจ่ายเงินผ่านรหัสบัตรเครดิต ข้อมูลบัตรเครดิตของเหยื่อก็ถูกขโมยไปเรียบร้อยแล้ว

3. สมัครงานปลอมๆ

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มมิจฉาชีพที่ดูแนบเนียนอีกวิธีหนึ่ง โดยการเปิดบริษัทลักษณะคล้ายเป็นนายหน้าจัดหางาน โดยเช่าพื้นที่ในตึกสำนักงานสักแห่ง แล้วเมื่อมีคนหลงเข้ามาตามประกาศสมัครงาน ก็จะพบกับกลุ่มมิจฉาชีพที่แต่งตัวดูน่าเชื่อถือ ลักษณะภายในตัวสำนักงานที่ดูดี โดยเหยื่อจะถูกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวในคอมพิวเตอร์ที่เตรียมไว้ให้ในอีกห้องหนึ่ง ดดยพวกมิจฉาชีพก็จะอยู่อีกห้องเพื่อคอยดุข้อมูลที่เหยื่อกรอกผ่านทางคอมพิวเตอร์ของตนที่เชื่อมต่อกันไว้อยู่ ข้อมูลที่กรอกไปนั้นมีแม้กระทั่งเลขที่บัญชีธนาคาร รหัสประกันสังคม และอื่นๆอีกมาก

4. เคาเตอร์คิดเงินปลอม
อีกกลโกงที่สุดเสี่ยงและใจกล้ามากๆถึงจะทำได้ โดยมักจะเกิดในห้างฯใหญ่ๆ ตามช่วงเทศกาลที่มีการจับจ่ายอย่างวุ่นวาย (เช่น คริสมาสต์ วันขอบคุณพระเจ้า) ซึ่งมักจะมีเรื่องพนักงานดุแลไม่ทั่วถึง ก็เลยเปิดช่องโหว่ให้เกิดกลโกงนี้ขึ้นจากเหล่ามิจฉาชีพ โดยพวกเคาจะเลือกสักมุมในห้างฯที่ไม่มีพนักงานหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมาดูแล (เพราะมัวแต่ไปอยู่ในจุดอื่น อันเป็นปัญหาในช่วงเทศกาล ห้างฯในมืองไทยก็เป็นเหมือนกัน พอช่วงเทศกาลที่มีการซื้อของเยอะๆ พนักงานก็วุ่นวายและดูแลไม่ทั่วถึง) มิจฉาชีพกลุ่มนี้จะมาพร้อมกับกระเป๋าใบใหญ่ ที่ข้างในมี เครื่องคิดเงินแบบที่ทางห้างฯใช้ จัดการตั้งเครื่องบนเคาเตอร์สักแห่ง และแน่อน มันพร้อมทำการหลอกดูดเงินจากเหยื่อแล้ว ด้วยความวุ่นวายช่วงหน้าเทศกาล เหยื่อก็เข้ามาใช้บริการโดยไม่รู้ตัว มิจฉาชีพก็ได้เงินไปฟรีๆอื้อซ่า ระหว่างนี้ก็จะมีพรรคพวกคอยดูลาดเลา เหยื่อรายไหนที่ใช้วิจ่ายด้วยบัตรเงินสดหรือบัตรเครดิตนั้น ก้แน่นอนว่าถูกขโมบข้อมูลในบัตรไปแล้ว (มิจฉาชีพก็จะบอกว่าเครื่องมีปัญหาหลังทำการรูดบัตรกับตัวเครื่องคิดเงิน) เหยื่อที่หิ้วของออกไปก้เสี่ยงโดนจับเพราะคิดว่าขโมยในห้างฯของได้ เพราะมันไม่ใช่การจ่ายเงินจริงๆ

กลโกงของมิจฉาชีพตามห้างฯช่วงเทศกาล ยังมีอีกรูปแบบคือ บริการห่อของฟรี โดยทำเป็นสุ้มเล็กๆที่ลูกค้าไม่เห็นตอนห่อของ แน่นอนว่าของข้างในก็ถูกสับเปลี่ยน กว่าเหยื่อจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว

5. คิดสักนิด ก่อนทิ้งเอกสารบางชิ้น

เพราะมันอาจมีข้อมูลสำคัญของคุณอยู่ในนั้นที่คุณำม่คิดว่าพวกมิจฉาชีพจะเอาไปใช้ทำอะไรได้ พวกใบเสร็จต่างๆด้วย ถ้าคุณทิ้งโดยไม่ทำลายมันอย่างดี พวกมิจฉาชีพก้จะไปคุ้ยมันจากถังขยะได้ และข้อมูลสำคัญพวกนี้ วพกมิจฉาชีพสามารถนำไปใช้แอบอ้างเพื่อทำบัตรเครดิต เช่าซื้อรถยนต์ และอื่นๆได้สบาย

ใครเคยดูรายการที่ผมดูก็อาจจะนึกออก รวมถึงกลโกงเรื่องอื่นๆที่สุดทึ่งและแนบเนียน มันอาจะเป็นเรื่องของเมืองนอกเมืองนาเขา แต่การต้มตุ๋นหลอกลวงมันมีพรมแดนซะที่ไหนหล่ะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น