วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คุณรู้จัก 3G บนคลื่นความถี่ 2100 MHz มากแค่ไหน?

ย้อนความไปถึง 3G ที่เอาคลื่นความถี่เดิมมาใช้คือ AIS ใช้คลื่น 900MHz และจับมือกับ TOT คลื่น 2100MHz ส่วน dtac, TruemoveH นั้นใช้คลื่น 850MHz มาทำ 3G หากมองในท้องตลาด เวลาเราซื้อมือถือ เรามักจะพบชื่อรุ่นที่วงเล็บว่า (900) หรือ (850) นั่นหมายถึงว่า สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ตที่ขายในไทยนั้น มีการแบ่งรุ่นออกเป็น 2 รุ่นคือ รุ่นที่รองรับ 3G 900MHz / 2100MHz จะใช้งานกับ SIM AIS, TOT อย่างพวก i-Mobile 3GX ได้ หากใช้ TruemoveH, dtac จะใช้งานกับรุ่น 3G 850MHz / 2100MHz หากใครซื้อไปผิดรุ่น อาจจะใช้งานได้ไม่เต็มที่ อย่างเช่นใช้ Samsung Galaxy SII รุ่นรองรับ 3G 900MHz แต่เอาซิม TruemoveH ที่รองรับ 3G 850MHz มาใช้ สามารถใช้งานร่วมกันได้ แต่จะไม่เสถียร โดยโอปอเรเตอร์ และผู้ผลิต จะไม่รับรองว่า คุณจะใช้เครือข่ายได้อย่างไม่ติดขัดใดๆ อย่างผู้เขียน ใช้ Samsung Galaxy SII รุ่น 900MHz แต่ใช้ซิม TruemoveH 3G 850MHz ไม่ตรงกับรุ่น สามารถใช้งานได้ แต่มีบางจังหะ สัญญาณแกว่ง สัญญาณหาย ขี้นเตือน data roaming ข้อมูล จะพบอาการแบบนี้เป็นประจำ ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจ หากใช้ซิมเครือข่าย 3G ที่ไม่ตรงกับรุ่น แต่สำหรับ 3G 2100MHz นั้น คุณจะต้องสำรวจอุปกรณ์ของคุณเสียก่อน โดยปกติแล้ว สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ตในไทย แม้ว่าจะรองรับ 3G 850MHz และมีการขายรุ่น 900MHz แยกกัน แต่อย่างไรก็ตาม รุ่นเหล่านี้เมื่อใช้กับ 3G 2100MHz สามารถใช้งานได้ร่วมกันได้แทบทุกรุ่น (ส่วนเครื่องนอก ต้องรบกวนตรวจสอบก่อนใช้งาน) ยกตัวอย่าง Samsung Galaxy ACE2 ที่มีจำหน่ายรุ่น 3G 900MHz แต่ก็รองรับ 3G 2100MHz ด้วย นั่นหมายความว่า หากคุณใช้ซิม TruemoveH, dtac ที่รองรับ 3G 850MHz หากต้องการใช้งานบน Samsung Galaxy ACE2 รุ่น 900MHz สามารถยื่นคำจำนงค์ขอเปลี่ยนค่ายไปใช้ 3G 2100MHz ก็สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ (แต่หากไม่ต้องการย้ายค่าย การใช้ซิม 850MHz บนเครื่องที่รองรับ 3G 900MHz อาจจะให้ผลในการใช้งานเครือข่ายที่ไม่สมบูรณ์นัก เช่น ใช้งานได้เฉพาะ EDGE แต่ใช้ 3G ไม่ได้ เพราะไม่ตรงรุ่น) ทางที่ดีย้ายค่ายมาใช้คลื่น 2100MHz จะใช้งานได้ดีกว่า การอ่านสเปคเครื่อง แนะนำให้อ่านจากเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ และผู้ผลิตบนเว็บไซต์ภาษาไทย เพื่อให้ทราบว่า ทางศูนย์ฯ ได้นำเครื่องรุ่นใดบ้าง ที่รองรับ 3G 2100MHz มาจำหน่าย ซึ่งปกติแล้ว สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต ล้วนแต่รองรับ 3G 2100MHz แทบทั้งสิ้น ค่าบริการ จากข่าวที่ว่า จะมีการลดค่าบริการลง 15% ตรงนี้ทุกสิ้นเดือนผู้ให้บริการต้องส่งแพคเกจที่เปิดให้บริการในเดือนนั้นๆ มาให้ กสทช. พิจารณา เพื่อใช้ในการคำนวณ ว่าค่าบริการลดลง 15 เปอร์เซ็นต์จริงหรือไม่ ถ้าไม่ จะมีมาตรการบังคับ เริ่มตั้งแต่การมีหนังสือเตือนไปยังบริษัทเพื่อให้ปรับลดราคาลงตามขั้นตอน ต่อไป เตรียมตัวย้ายค่าย ในช่วงที่มีการให้บริการ 3G 2100MHz จริงๆมีการทดสอบก่อนหน้านี้แล้ว บางคนอาจจะเคยค้นหาสัญญาณเจอ 3G 2100MHz ของผู้ให้บริการที่กำลังทดสอบการให้บริการอยู่ แต่ไม่สามารถใช้งานได้ หากต้องการใช้งาน จะต้องยื่นความจำนงค์ขอเปลี่ยนย้ายเครือข่าย เพราะในทางกฏหมายแล้ว ไม่ใช่ว่าถ้าเจอสัญญาณ 3G 2100MHz แล้วคุณจะจับสัญญาณใช้งานได้เลย (แม้ว่าตัวเครื่องจะรองรับ) แต่จะต้องย้ายค่ายตามข้อกำหนด นั่นหมายถึงการเปลี่ยนซิม หรือใช้ซิมเดิม แต่จะต้องติดต่อผู้ให้บริการเพื่อขอย้ายค่ายไปใช้ 3G 2100MHz ผู้ใช้ 3G 2100MHz ต้องมีการย้ายค่าย ผู้ใช้คงจะพอคุ้นเคยกับ Mobile Number Portability หรือที่เรียกย่อว่า MNP หรือภาษาชาวบ้านว่า “ย้ายค่ายเบอร์เดิม” การใช้ 3G 850MHz เดิม แล้วจะไปใช้ 3G 2100MHz ใหม่ จำเป็นต้องย้ายค่ายตามขั้นตอนปกติ (ตามกฏหมาย) ไม่ใช่การจับสัญญาณแล้วใช้ได้เลย ส่วนจะทำได้เมื่อไหร ต้องรอการประชาสัมพันธ์จากผู้ให้บริการอีกครั้ง เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวเครื่องของเรา รองรับ 3G 2100MHz หรือไม่ ข้อมูลจากการตอบกระทู้ Pantip จาก callcenter@ais.co.th แนะนำว่า “สามารถ กดตรวจสอบคุณภาพ SIM ว่ารองรับการใช้งานคลื่นความถี่ 2100 ได้ง่าย ๆ ผ่าน *570# โทรออกครับและ *571# โทรออกเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเครื่อง” เงื่อนไขในการใช้บริการ ในกรณีผู้บริโภคที่ใช้ซิม 3G บนคลื่น 2.1 GHz (3G ใหม่) กับโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นที่รองรับระบบ 3G ใหม่ (ส่วนใหญ่ 2100MHz) สำหรับผู้บริโภคที่ใช้ซิม 3G ใหม่ แต่นำไปใส่ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นเก่าที่ไม่สามารถรองรับระบบ 3G ใหม่ การใช้งานของท่าน ก็จะยังวิ่งอยู่บนโครงข่าย 2G เดิม เปรียบเสมือนผู้บริโภคกำลังใช้โทรศัพท์ระบบ 2G เดิมอยู่ ดังนั้น ควรตรวจสอบรุ่นของตัวเครื่องกับผู้ให้บริการ และผู้ผลิตก่อน จากที่กล่าวมาข้างต้น ขอทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า หากเดิมใช้ 3G 850MHz, 900MHz อยู่ แล้วเปลี่ยนค่ายไปใช้ 3G 2100MHz แล้ว หากต้องการใช้ 3G 850MHz ก็ต้องเข้าข้อกำหนดของการย้ายค่ายตามกฏของกสทช.ตามปกติ ไม่สามารถ swap ไปใช้คลื่น 850 สลับกับ 2100MHz ได้ แต่การย้ายค่ายอาจจะไม่ยุ่งยากเหมือนกับการย้ายค่ายแบบเดิม ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า หากย้ายไปใช้ 3G 2100MHz ก็น่าจะมีการโรมมิ่งการใช้งานในบางสถานที่มาใช้ 3G 850MHz ด้วย เพราะสัญญาณจะได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ สำหรับตัวเครื่อง Samsung เพิ่งปรับราคาลงต้อนรับการเปิดตัว Samsung Galaxy S IV (S4) ส่วน Truemove เดิม (ไม่ H) และ DPC 1800MHz ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายนนี้ มีข่าวว่าจะต้องรีบเคาะประมูลคลื่น 1800MHz โดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาซิมดับ ข่าวที่เกี่ยวข้อง ไม่ปลื้ม ร้องเรียนได้ หากอัตราค่าบริการไม่ลดลง 15% ตามที่ กสทช. ได้ประกาศไว้ แนะนำให้ตรวจสอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของท่านก่อนว่ารองรับระบบ 3G ใหม่ได้หรือไม่ สำหรับผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2G เดิม สำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือถึงผู้ประกอบการ ให้ตรวจสอบและดูแลคุณภาพการให้บริการที่ดี และหากผู้ใช้บริการพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการ อาทิ สายหลุด โทรติดยาก ความเร็วอินเทอร์เน็ตลดลง ฯลฯ สามารถร้องเรียนมายังสำนักงาน กสทช. ผ่านช่องทาง Call Center 1200 หรือ SMS 1200 ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือร้องเรียนผ่านทางโทรสาร 0-2271-3516 และที่อีเมล์ 1200@nbtc.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น